เทคนิค ตัวแทนประกัน ภัยรถยนต์ มืออาชีพ ตอน ความรู้เรื่อง พรบ รถยนต์
สวัสดีครับ สำหรับคนที่มี รถ หรือว่าดูแลจัดการ รถยนต์ และได้รู้ว่าเอกสารมีอะไรบ้าง เราน่าจะได้ยิน ที่เขาเรียกกันว่า พรบ. รถยนต์ ครับ สำหรับ พรบ. รถยนต์ ก็ถือเป็นเอกสารที่เราต้องใช้ เกี่ยวกับรถยนต์ครับ เอกสารที่เราใช้หลักๆ ในรถยนต์ มี 2-3 อย่างครับ ที่กฏหมายบังคับดังนี้ครับ
พรบ. รถยนต์
ทะเบียนรถยนต์
ภาษีรถยนต์
และ ประกันภาคสมัครใจครับ หรือว่าที่เราเรียกว่า ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2 ประกันชั้น 3 ประกัน 2+ หรือว่าประกัน 3+ นั้นเองครับ สำหรับอันสุดท้ายนี้ กฏหมายไม่ได้บังคับให้เราต้องทำครับ แต่ว่าส่วนใหญ่จะทำเอง หรือในภาษา ตัวแทนประกันภัยรถยนต์เรียกว่า ประกันภาคสมัครใจ นั้นเองครับ
กรอกใบสมัคร ออนไลน์ เริ่ม ธุรกิจ ประกันภัยของคุณ ที่นี่
นอกเรื่องอีกแล้วเดียววันนี้ถือว่า เริ่มใหม่สำหรับ คนมีรถครับ เรามารู้จักเอกสารที่ กฏหมายบังคับ หรือว่าเอกสารที่ คนมีรถทุกคนต้องมีครับ นั้นคือ พรบ. รถยนต์ ครับ
พรบ. รถยนต์ หรือว่าเราเรียกชื่อเต็มๆ ของเขา คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยทางบก ครับ เนื่องจากว่ามันชื่อยาวครับ ทำให้เราเรียกกันติดปากว่า พรบ รถยนต์ นั้นเองครับ นอกจากเราจะรู้จักชื่อ ของ พรบ แล้วนะครับ ผมอยากให้เราดูภาพกันด้วยครับว่า หน้าตาของ พรบ นี่เป็นอย่างไรครับ

ภาพ พรบ. รถยนต์ เปล่ายังไม่ได้เขียน
หน้าตาของ พรบ รถยนต์ เปล่าก่อนการออกเลขคุ้มครอง หรือว่า พรบ เปล่า ที่ยังไม่ได้ขายครับ
สำหรับ พรบ รถยนต์ แล้วจะแบ่งการคุ้มครองของ พรบ คือ ร่างกาย อนามัย บุคคลภายนอก ครับ เอ แล้วมันคืออะไร สำหรับบุคคลภายนอก คือใครก็ตามที่ไม่ใช้ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ภรรยา ลูกจ้าง ณ ตอนที่เกิดเหตุครับ โดย เรียกกันง่ายๆว่า การที่เราทำ พรบ นั้น เป็นการคุ้มครอง ชีวิต เป็นหลักครับ ส่วนของ ทรัพย์สิน นั้น ไม่คุ้มครองครับ ปกติ พรบ รถยนต์ จะมีเอกสารแนบ บอกว่า พรบ นั้นคุ้มครองอะไรบ้าง วิธีการเครม อย่างไร หรือว่าหากเราต้องการยกเลิก พรบ เราต้องทำอย่างไร เพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของ ทราบ แล้ะเข้าใจครับ

เงื่อนไง พรบ รถยนต์ หน้าแรก

เงื่อนไข พรบ. รถยนต์ หน้า 2 แสดงรายละเอียด และเงื่อนไขการไม่คุ้มครอง
ภาพตัวอย่างหลัง พรบ หรือว่าเอกสารแนบ พรบ. รถยนต์ ครับ ซึ่งจะบอกรายละเอียด ความคุ้มครอง พรบ. รถยนต์ ขั้นตอนการเคลมประกัน หากเกิดเหตุ หรือว่าคุ้มครองอะไรบ้างครับ ซึ่ง ปรกติ เราไม่ได้อ่าน แฮ่ๆ
ต่อไปเรามาดู เรื่องสำคัญครับ เพราะว่าส่วนใหญ่ เราไม่ได้สนใจในส่วนของเอกสารเลย สนใจ มากๆ ก็ราคานี่แหละครับ ว่าเราคาเท่าไหร่ และต้องใช้เอกสาร หรือว่าข้อมูลอะไรบ้างในการทำ พรบ. รถยนต์
เอกสารที่ใช้ในการทำ พรบ. รถยนต์ ก็มีอยู่ 2 อย่างครับ หรือว่า อย่างเดียวก็ได้ครับ คือ สำเนาทะเบียนรถ และ บัตรประชาชนครับ

รายการจดทะเบียน รถยนต์
ส่วนของสำเนาทะเบียนรถนั้น จะเป็นข้อมูลสำคัญครับว่า รถของเราเป็นอย่างไร รุ่นอะไร
สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการทำ พรบ. รถยนต์ หรือว่า พรบ มอเตอร์ไซค์ หลักๆ ก็มีดังนี้ครับ
ปีที่จดทะเบียน , ทะเบียนรถ , จังหวัดที่จดทะเบียน , ยี้ห้อ , รุ่น , หมายเลขตัวถัง , หมายเลขเครื่อง ,ประเภทของรถยนต์ ,ขนาด น้ำหนัก ,ประเภทการใช้รถ, ข้อมูลเจ้าของรถ ปกติสามารถมีได้หลายคน แต่ให้เราเลือกใช้หน้าหลังสุดครับ ในบางกรณีที่ชื่อเจ้าของไม่ตรงให้ยืนตามสำเนาทะเบียนรถครับ เพราะว่าอาจจะยังไม่ได้โอน มาเป็นเจ้าของรถคันนั้นๆ
เมื่อออกพรบแล้ว หน้าตา พรบ. รถยนต์ จะเป็นอย่างนี้ครับ

พรบ. รถยนต์ ที่เขียนแล้วครับ
คือมีวันเริ่มคุ้มครอง และวันสิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ทำสัญญาประกันภัยคือวันปัจจุบันที่ทำครับ อันนี้ห้ามมีการเขียนย้อนหลัง หรือว่าห้ามเขียนผิดครับ หากมีการเขียนวันคุ้มครองผิด หากเป็นตัวแทนเอง ก็จะต้องเสียค่าออก กรมธรรมใหม่ครับ
สำหรับลูกค้า เมื่อได้ พรบ. รถยนต์ มาแล้วให้เราดูที่วัน เริ่มคุ้มครอง และวันสิ้นสุดความคุ้มครอง ทะเบียนถูกต้องไหม เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญในการที่หากมีเหตุ เราจะได้รับความคุ้มครองครับ
ในส่วนของรายละเอียด พรบ นะครับ หากลองอ่านดูจะเห็นได้ว่า ข้อแรกเลย สำคัญสุดคือ มีผลบังคับใช้ทันที เมื่อเรา ชำระเบี้ยประกันภัยแล้วครับ นั้นหมายความว่า หากยังไม่จ่าย ไม่คุ้มครองครับ
โดยทั่วไปแล้ว ราคาของพรบ จะขึ้นอยู่กับ ประเภทของรถยนต์ ครับ และจะต่างไปใน กรณีที่การใช้งาน ไม่ใช่ส่วนบุคคล เพราะว่ามีความเสี่ยงมากกว่า พรบ รถเก๋ง ปกติจะอยู่ที่ 645.21 ครับ และรถกระบะ จะอยู่ที่ 967.28 ครับ