การขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรน และการทำประกันภัยโดรน แบบง่ายๆใน 1 วัน

หลังจากที่ได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนโดรน หรือยานบินไร้คนขับนั้น ก็มีผู้สงสัยครับและได้สอบถามกันเข้ามาว่าเราจะขึ้นทะเบียนได้อย่างไร วันนี้ก็เลยอยากจะแนะนำครับเพราะว่าจากการที่ได้ไปสอบถามและ ไปติดต่อกับหน่วยงานราชการมานั้น เขาได้ทำเป็นอินโฟกราฟฟิคมาให้เราดูด้วยครับว่าช่องทางการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับนั้น ทําได้อย่างไรบ้างและมีเอกสารอะไรบ้าง เปิดกี่โมง ปิดกี่โมง และทำที่ไหนนะครับเดี๋ยววันนี้เราจะมาดูกัน ขอขอบคุณภาพอินโฟกราฟฟิคจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยด้วยครับทำออกมาได้สวยงามมากๆ
อย่างแรกให้เรา เข้าไปที่ลิงค์นี้ก่อนเลย https://www.caat.or.th/th/ ซึ่งเป็นหน้าแรกของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
จากหน้าหลักนะครับเราจะเห็นในส่วนของการดาวน์โหลดเอกสารขึ้นทะเบียน uav นะครับให้เราคลิกเข้าไป จึงจะเป็นรายละเอียดในส่วนของการขึ้นทะเบียนโดรนนะครับแล้วก็เอกสารทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ขั้นตอนการติดต่อครับหรือเพื่อนๆดูจากภาพข้างล่างได้เลยนะครับ

สำหรับกฎกระทรวงต่างๆนะครับผมก็เอามาจากเว็บนี้เหมือนกันและแตกไว้ข้างล่างนี้นะครับให้เพื่อนๆลองอ่านดู
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558
ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ตามประกาศดังกล่าวได้นิยามความหมายไว้ดังนี้
- “อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548
- “ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์อันประกอบด้วยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่งควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้หรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานด้วย
อากาศยานในประกาศนี้แบ่งเป็นสองประเภทตามวัตถุประสงค์คือ
- ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา
- ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ
ประเภทที่ 2 นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม ขณะที่ประเภทที่ 1 มีแบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้
ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
เงื่อนไข
(1) ก่อนทําการบิน
(ก) ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทําการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน
(ข) ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทําการบิน
(ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทําการบิน
(ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้
(2) ระหว่างทําการบิน
(ก) ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
(ข) ห้ามทําการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตจํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
(ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
(ง) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทําการบินและห้ามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
(จ) ต้องทําการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน
(ฉ) ห้ามทําการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
(ช) ห้ามทําการบินภายในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
(ซ) ห้ามทําการบินโดยใช้ความสูงเกินเก้าสิบเมตร (สามร้อยฟุต) เหนือพื้นดิน
(ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
(ญ) ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
(ฎ) ห้ามทําการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
(ฏ) ห้ามทําการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรําคาญ แก่ผู้อื่น
(ฐ) ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน
(ฑ) ห้ามทําการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต)
ประเภท 1.ข มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่เคยโดนโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือศุลกากร และต้องขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เหมือนประเภท 1.ก และเพิ่มเติมอย่างการบำรุงรักษาอากาศยาน ความชำนาญในการบังคับอากาศยาน ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้งานได้ติดตัว มีประกันภัยต่อบุคคลที่สาม วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง เพิ่มระยะห่างในข้อ (ฑ) เป็นไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบฟุต) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า
สำหรับอากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเช่นเดียวกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วย
ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา
ซึ่งเป็นข้อห้ามและระเบียบต่างๆในการใช้โดรน นะครับสำหรับผู้บังคับโดรน นั้นเอกสารที่จำเป็นต้องใช้นะครับผมตัดมาให้ดูอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ครับ

เอกสารต่างๆที่ใช้ดังนี้ครับ โหลดได้ เลยครับ
คำขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินใหม่.pdf
แบบพิมพ์ข้อมูลส่วนบุคคลใหม่.pdf
แล้วมาถึงส่วนสำคัญที่สุดในข้อที่ 4 ครับคือประกันภัยบุคคลที่ 3 วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้มีออกมาอยู่ 2 บริษัทครับคือมิตรแท้ประกันภัย และเจ้าพระยาประกันภัย เรามา ดูความแตกต่างของแต่ละบริษัทกันเลยครับและเอกสารประกอบที่ใช้ในการทำประกันมีอะไรบ้าง
รายการ |
มิตรแท้ประกันภัย |
เจ้าพระยาประกันภัย |
คุ้มครองเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร ต่อคน |
1,000,000 |
1,000,000 |
ความเสียหาย บุคคลภายนอก ทรัพย์สิน |
1,000,000 |
1,000,000 |
ประกันตัว |
100,000 |
100,000 |
ความรับผิดรวมกันทุกครั้งใน 1 ปี ไม่เกิน |
1,000,000 |
1,000,000 |
ระยะเวลาการรับกรมธรรม เมื่ือสั่งซื้อกับเรา |
1-2 วัน |
5-7 วัน |
ราคาเริ่มต้น |
3,000 |
2,685 |
เอกสารที่ใข้ ในการทำ ประกันภัยโดรน บุคคลที่ 3 สำหรับแผน A
- สำเนาบัตรประชาชน ต่างชาติใช้ พาสปอร์ต ผู้บังคับโดรน
- สำเนาใบเสร็จโดรน หากไม่มีปรึกษาเราได้ครับ
- ภาพถ่าย โดรน บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง และเห็น หมายเลขประจำเครื่อง
- เอกสารใบคำขอ
เอกสารสำหรับ มิตรแท้ประกันภัย
ใบคำขอ ประกันภัยโดรน มิตรแท้ แผน A
รายละเอียดความคุ้มครองประกันภัยโดรน แผน A
เอกสารสำหรับ เจ้าพระยาประกันภัย
เอกสารคำขอทำประกันภัย – ประกันโดรน
สำหรับความคุ้มครองของประกันภัยนะครับทั้ง 2 ที่ไม่ค่อยแตกต่างกันเลย จะต่างกันนิดหน่อยในส่วนของระยะเวลาการรับกรมธรรม์และราคาเท่านั้นเองครับ เพื่อนๆสามารถแจ้งได้เลยครับว่าต้องการที่ไหน สามารถ แจ้งได้ทาง ไลน์ ไอดี worawutch หรือ link นี้ครับ http://line.me/ti/p/~worawutch
ประกันภัยของมิตรแท้ประกันภัยนั้นนะครับ ทางผมจะส่งเอกสารให้ก่อนทางไลน์ได้เลย ครับและตัวจริงจะส่งให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้หลังจากได้รับกรมธรรมา แล้วครับ ซึ่งเพื่อนๆสามารถใช้สำเนาที่ผมส่งให้ประกอบในการขึ้นทะเบียนได้เลยครับ